อาการเวียนหัว (Dizziness) หรืออาการวิงเวียนศีรษะที่หลายคนรู้จักกัน สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลโดยทั่วไป โดยผู้ป่วยจะมีอาการบ้านหมุน การทรงตัวไม่ดี ร่างกายหรือแขนขาไร้กำลังหรือเกิดการอ่อนแรงลงชั่วขณะ จนบางครั้งส่งผลให้เกิดอาการหน้ามืด วูบ และหมดสติได้ ซึ่งอาการเวียนหัวนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุด้วยกัน โดยจะมีสาเหตุอะไรบ้างนั้นเราไปดูกันเลย

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว

อาการเวียนหัวเกิดขึ้นได้หลากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งจะมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัวอยู่ 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ การดูดไขมัน สาเหตุที่เกิดขึ้นจากอาการผิดปกติภายในร่างกาย และสาเหตุที่เกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวัน

1.สาเหตุที่เกิดจากอาการผิดปกติในร่างกาย

สาเหตุดังกล่าวเกิดจากผลของระบบต่างๆ ภายในร่างกายที่เกิดความผิดปกติ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

ความผิดปกติของหูชั้นใน เป็นสาเหตุที่เกิดจากน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน ส่งผลให้เกิดการเวียนหัวที่มีความเรื้อรังตามมา

ติดเชื้อจากการบาดเจ็บ ลักษณะของการติดเชื้อจะเป็นการติดเชื้อไวรัสที่เป็นอาการของไข้หวัด หากมีอาการที่รุนแรงอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อบริเวณชั้นหูภายใน และส่งผลไปถึงเส้นประสาทหู ทำให้เกิดอาการวิงเวียนได้

ความผิดปกติของสมอง การที่สมองทำงานผิดปกตินั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเวียนหัว เช่น เนื้องอกในสมอง การได้รับความกระทบกระเทือนของสมอง กะโหลกศีรษะร้าวหรือแตก เป็นต้น อาการเหล่านี้จะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้อย่างไม่เพียงพอ

ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุดังกล่าวเกิดจากการที่หลอดเลือดเกิดการอุดตัน และไม่สามารถนำเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้อย่างเพียงพอ ทำให้หัวใจวายเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดเกิดตีบตัน ทำให้เกิดอาการสมองขาดเลือดนั่นเอง

การเปลี่ยนแปลงหรือความไม่สมดุลของฮอร์โมน โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบในผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยทอง ซึ่งฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง และเกิดความแปรปรวนของฮอร์โมนจนทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้น

โรคหรือภาวะอื่นๆ ภายในร่างกาย โรคที่ทำให้เกิดการเวียนหัว เช่น โลหิตจาง ไมเกรน และภาวะการแพ้ท้อง อาการหรือโรคเหล่านี้เกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ระบบของเม็ดเลือดที่ทำงานได้ไม่ปกติ หรือความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นจากร่างกาย

2.สาเหตุที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวัน

เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลถึงปัจจัยเสี่ยงจนทำให้เกิดการเวียนหัวขึ้นมา โดยมีปัจจัยดังต่อไปนี้

ร่างกายเกิดการขาดน้ำ อาการขาดน้ำจะทำให้ปริมาณเลือดมีน้อย และทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และเกิดอาการเวียนหัวขึ้นมา

ภาวะของน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำอาจเป็นสาเหตุมาจากการอดอาหาร การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มแอลกอฮอล์ จนทำให้เกิดการเวียนหัวขึ้นได้

อาการเมารถ อาการเมารถเมาเรือ ถ้าหากอยู่ในยานพาหนะเป็นเวลานาน อาจทำให้ไปรบกวนระบบโครงสร้างของหูชั้นในได้ ทำให้เกิดความผิดปกติและก่อให้เกิดอาการเวียนหัวขึ้น

อาการเมาค้าง การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลให้ร่างกายขับของเสียออกมาในรูปของปัสสาวะ ทำให้เกิดการขาดน้ำ จึงส่งผลให้เกิดการเวียนหัวได้

การเปลี่ยนท่าทางที่รวดเร็ว ในลักษณะของการนั่งเร็วลุกเร็ว จะทำให้ความดันในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงตาม ส่งผลทำให้เกิดอาการวิงเวียนตามมาดังกล่าว

พักผ่อนไม่เพียงพอหรือใช้สายตามากเกินไป การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือการใช้สายตาเพ่งเล็งบางสิ่งบางอย่างนาน จะส่งผลทำให้ร่างกายและฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการอ่อนล้าของร่างกาย จนเกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ และนำมาซึ่งอาการวิงเวียนได้

อาการเวียนหัว ป้องกันได้อย่างไร?

ถึงแม้ว่าอาการเวียนหัวจะเป็นอาการที่ไม่มีความรุนแรง แต่ก็ทำให้เป็นปัญหาของสุขภาพอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรามีวิธีการป้องกันอาการเหล่านี้ได้ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเวียนหัว เช่น ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ พฤติกรรมการกินที่ไม่เป็นเวลา และปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของการเวียนหัว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรืออาหารรสจัด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุรา
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล
  • หากมีอาการเวียนหัวอยู่บ่อยครั้ง หรือมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคและทำการรักษาให้ทันท่วงที

ถึงแม้ว่าอาการเวียนหัว จะเป็นอาการที่ไม่มีความรุนแรง แต่ถ้าหากมีอาการบ่อยครั้ง โดยที่ไม่ได้รับการรักษาอาการก็อาจจะลุกลามบานปลายหนักขึ้น และถ้าหากมีอาการอาเจียน หรือแน่นหน้าอกร่วมด้วยแล้วนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ท่านต้องไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจจะส่งผลถึงการเป็นโรคอื่นๆ ที่มีความร้ายแรงอย่างที่คุณคิดไม่ถึงเลยก็เป็นได้