รูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) หรือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของร่างกาย โดยโรคนี้มีผลมาจากความบกพร่องของภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย ซึ่งรูมาตอยด์นั้น ไม่ใช่โรคที่จะเกิดผลกระทบแต่ที่บริเวณข้อแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายตามมาอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด ผิวหนัง หัวใจ ดวงตา และปอด โดยวันนี้เราจึงจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโรครูมาตอยด์ หรือโรคที่เกิดจากการอักเสบของส่วนต่างๆ ในร่างกายให้มากขึ้นกันค่ะ

อาการที่บ่งบอกถึงโรครูมาตอยด์

เนื่องจากอาการของโรครูมาตอยด์ เกิดจากการอักเสบของข้อและส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่มีผลทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ หรือในบางรายอาจส่งผลกระทบไปยังระบบต่างๆ ของร่างกายได้ ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรครูมาตอยด์นั้นก็มีดังนี้

1.มีอาการปวดบวม แดง โดยปวดตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ข้อมือ ข้อศอก หัวเข่า หัวไหล่ และบริเวณต่างๆ ที่มีข้อต่อ

2.เกิดอาการฝืดขัด ที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ หรือมีการเคลื่อนไหวได้อย่างลำบาก โดยเฉพาะเวลาที่จะทำการเคลื่อนไหวร่างกาย

3.ทำให้เกิดปุ่มรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นปุ่มที่อยู่ตามข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลให้เกิดความผิดรูปของข้อต่อต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะเห็นได้ชัดบริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า ที่มีอาการบวมแข็งขึ้น ทำให้นิ้วมือนิ้วเท้าหงิกงอ ผิดไปจากเดิม

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ส่งผลต่อข้อต่อ หากเกิดรูมาตอยด์ เช่น ดวงตา ผิวหนัง หลอดเลือด หัวใจ ต่อมน้ำลาย ไขกระดูก และส่วนอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งความรุนแรงก็ขึ้นอยู่กับอาการและอวัยวะของร่างกายนั้นๆ โดยในบางครั้งอาการอาจจะเป็นๆ หายๆ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์ เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการทำลายบริเวณข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย และส่งผลให้เกิดความรุนแรงทำให้กระดูกเกิดการผิดรูปได้ โดยปัจจัยต่างๆ ที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ อาจจะยังไม่มีความแน่ชัดแต่อย่างใดว่าเป็นต้นเหตุของการเกิดดังกล่าว แต่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสไวต่อการเกิดโรครูมาตอยด์ได้นั่นเอง

1.ปัจจัยทางด้านเพศ เนื่องจากเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าเพศชาย

2.ปัจจัยทางด้านอายุ โดยส่วนใหญ่แล้วโรครูมาตอยด์เป็นโรคที่สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

3.ปัจจัยเสี่ยงทางด้านครอบครัว หากคนในครอบครัวเคยมีประวัติเป็นโรครูมาตอยด์ ก็ย่อมทำให้สมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเป็นโรคดังกล่าวด้วยได้

4.ปัจจัยทางด้านพฤติกรรม พฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครูมาตอยด์อย่างยิ่ง เพราะสารพิษในบุหรี่จะเข้าไปทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายให้เกิดความบกพร่องได้ และการสูบบุหรี่ยังไปกระตุ้นให้โรครูมาตอยด์เกิดการลุกลามมากขึ้นได้อีกด้วย

5.ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยอาจได้รับสารเคมีหรือสารกระตุ้นที่ส่งผลทำให้เกิดโรครูมาตอยด์ได้

6.ปัจจัยด้านน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวเป็นปัจจัยอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรคข้ออักเสบได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากร่างกายมีการรับน้ำหนักตัวที่มาก เมื่ออายุมากขึ้นอาจจะส่งผลให้เกิดข้ออักเสบและเกิดเป็นโรครูมาตอยด์ได้

7.ปัจจัยทางด้านการทำงาน ร่างกายจะใช้อวัยวะต่างๆ ที่ช่วยในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อต่างๆ หากเราทำงานอย่างหนักหรือหักโหมทำงานเป็นเวลานานก็ย่อมส่งผลให้เกิดเป็นโรครูมาตอยด์ได้

8.ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการกินทำให้เกิดโรครูมาตอยด์ได้ด้วย โดยเฉพาะการรับประทานอาหารจำพวกที่มีกรดยูริคผสมอยู่ อย่างยอดผักบางชนิด อาทิเช่น หน่อไม้ ยอดตำลึง และการรับประทานสัตว์ปีก ก็ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายที่มีปริมาณมากจนส่งผลให้เกิดโรคดังกล่าวได้

วิธีการรักษาหากเป็นโรครูมาตอยด์

ในทางการแพทย์มีวิธีการรักษาที่หลากหลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น โดยจะมีวิธีการรักษาดังนี้

1.รักษาด้วยการบำบัด

เป็นวิธีการรักษาในรูปแบบของแพทย์ทางเลือก ที่ช่วยในการบำบัดให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว และมีความยืดหยุ่น

2.รักษาด้วยการผ่าตัด

แพทย์จะทำการผ่าตัดในกรณีที่โรคมีอาการลุกลามรุนแรงหนักขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ปล่อยทิ้งไว้ไม่เคยเข้ารับการรักษาเลยจนอาการเกิดภาวะเรื้อรังบานปลาย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย ก่อนทำการผ่าตัด เพื่อที่จะให้ข้อต่อกลับมาเป็นปกติ

3.รักษาด้วยการรับประทานยา

เป็นวิธีการที่ใช้รักษาในขั้นเบื้องต้น หรืออาจจะใช้ร่วมกับการบำบัดและการผ่าตัดข้อก็ได้

วิธีป้องกันโรครูมาตอยด์

สำหรับใครที่ไม่อยากเป็นโรคดังกล่าว วันนี้เราก็มีแนวทางในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรครูมาตอยด์มาให้ทุกท่านได้ปฏิบัติตามดังนี้

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข้อต่อ กล้ามเนื้อ และกระดูกมีความยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดโรค โดยส่วนใหญ่แล้วโรครูมาตอยด์จะเป็นการสะสมของกรดยูริค ซึ่งเกิดจากการรับประทานผักที่มียอด เช่น ยอดตำลึง ยอดมะระ เป็นต้น ดังนั้น เราควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทดังกล่าว เพราะเป็นอาหารที่มีกรดยูริคอยู่เป็นจำนวนมากนั่นเอง
  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่ใช้ข้อต่ออย่างหนัก เพราะในอนาคตอาจทำให้เกิดโรครูมาตอยด์ได้
  • ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานแนะนำให้ลดน้ำหนัก เพราะผู้ที่มีน้ำหนักมากเกินไป จะส่งผลไม่ดีต่อข้อต่อ และเส้นเอ็นได้

หากท่านใดไม่อยากเป็นโรครูมาตอยด์ หรือโรคที่เกิดจากการอักเสบของข้อต่อตามร่างกาย ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำที่เราได้กล่าวมานี้อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรครูมาตอยด์ได้ในอนาคต และหากท่านใดที่กำลังประสบปัญหากับโรครูมาตอยด์ ควรที่จะมีการรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์อย่างต่อเนื่องจะดีที่สุด